ความรู้เรื่องมะเร็ง
 Cancer 
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
www.nci.go.th/

มะเร็ง คือ กลุ่มของโรคที่เกิดเนื่องจากเซลล์ของร่างกายมีความผิดปกติ ที่ DNA หรือสารพันธุกรรม ส่งผลให้เซลล์มีการเจริญเติบโต มีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ รวดเร็ว และมากกว่าปกติ ดังนั้น จึงอาจทำให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติ และในที่สุดก็จะ ทำให้เกิดการตายของเซลล์ในก้อนเนื้อนั้น เนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง เพราะการ เจริญเติบโตของหลอดเลือด ถ้าเซลล์พวกนี้เกิดอยู่ในอวัยวะใดก็จะ เรียกชื่อ มะเร็ง ตามอวัยวะนั้นเช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็ง เม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง เป็นต้นท่าที่มีรายงานไว้ใน ขณะนี้ มะเร็งที่พบในร่างกายมนุษย์มีมากกว่า 100 ชนิด มะเร็งแต่ละชนิดจะมีการ ดำเนินของโรคไม่เหมือนกัน เช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง จะมีการดำเนินชนิดของ โรค ที่รุนแรง ผู้ป่วยจะมีชีวิตการอยู่รอดสั้นกว่าผู้ป่วยมะเร็งผิวหนัง เป็นต้นดังนั้น การรักษามะเร็งแต่ละชนิดจะไม่เหมือนกัน มีวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่เป็นมะเร็ง ระยะของมะเร็ง สภาพร่างกาย และความเหมาะสม ของผู้ป่วยมะเร็ง การรักษาจะยากหรือง่ายนั้นก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็งและ การดำเนินโรคของมะเร็งด้วย เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งผิวหนัง รักษาง่ายกว่า มะเร็งปอด มะเร็งสมอง เป็นต้น


อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็ง

1. ไม่มีอาการใดเลยในช่วงแรกขณะที่ร่างกายมีเซลล์มะเร็งเป็นจำนวนน้อย
2. มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งตามสัญญาณอันตราย 8 ประการ ที่เป็นสัญญาณเตือน ว่าควรไปพบแพทย์ เพื่อการตรวจค้นหาโรคมะเร็ง หรือสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้มีสัญญาณ เหล่านี้ เพื่อการรักษาและแก้ไขทางการแพทย์ที่ถูกต้องก่อนที่จะกลายเป็นโรคมะเร็ง หรือเป็นมะเร็งระยะลุกลาม
3. มีอาการป่วยของโรคทั่วไป เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ร่างกายทรุดโทรม ไม่สดชื่น และไม่แจ่มใส
4. มีอาการที่บ่งบอกว่า มะเร็งอยู่ในระยะลุกลาม หรือเป็นมาก ขึ้นอยู่กับว่าเป็นมะเร็ง ชนิดใดและมีการกระจายของโรคอยู่ที่ส่วนใดของร่างกายที่สำคัญที่สุดของอาการในกลุ่ม นี้ ได้แก่ อาการเจ็บปวด ที่แสน ทุกข์ทรมาน

สัญญาณอันตราย 8 ประการที่ทุกคนควรจะจำไว้เพื่อสุขภาพที่ดี ได้แก่ 
1.มีการเปลี่ยนแปลงของระบบขับถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ เช่น ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ หรือปัสสาวะเป็นเลือด
2. กลืนอาหารลำบาก หรือมีอาการเสียด แน่นท้องเป็นเวลานาน
3. มีอาการเสียงแหบ และไอเรื้อรัง
4. มีเลือดหรือตกขาวที่ผิดปกติ เช่น มีกลิ่นเหม็น
5. แผลซึ่งรักษาแล้วไม่ยอมหาย
6. มีการเปลี่ยนแปลงของหูดหรือไฝตามร่างกาย
7. มีก้อนที่เต้านมหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
8. หูอื้อหรือมีเลือดกำเดาไหล

การรักษามะเร็งตามหลักสากลที่ ปฏิบัติกันอยู่ในประเทศไทย

คือ การรักษามะเร็งแบบ วิธีผสมผสานของ ศัลยกรรม (ผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกรวมทั้งต่อมน้ำเหลืองบริเวณข้าง) รังสีรักษา (ฉายแสงบริเวณที่มีเซลล์มะเร็งอยู่เป็นการรักษาแบบเฉพาะที่เช่นเดียวกับวิธี ของศัลยกรรม) เคมีบำบัด (การรักษาหรือการทำลายเซลล์มะเร็งทั้งที่ต้นตอและที่กระจาย ไปตามทางเดินน้ำเหลือง กระแสเลือดหรืออวัยวะอื่นของร่างกาย เป็นการรักษามะเร็ง แบบทั้งตัวของผู้ป่วยมะเร็ง โดยการรับประทานยาที่มีความสามารถในการฆ่า หรือทำลาย เซลล์มะเร็ง ฉีดยาทางหลอดเลือดดำหรือแดง เป็นต้น) การรักษาโดยการใช้ฮอร์โมน เนื่องจากมะเร็งบางชนิดมีความไวต่อการรักษาด้วยฮอร์โมน และการรักษาโดยการเพิ่ม ภูมิคุ้มกัน ให้กับร่างกาย เพื่อที่จะได้กำจัดเซลล์มะเร็งให้หมดไปจากร่างกาย และผู้ป่วยก็จะหายจากโรคมะเร็ง

เนื่องจากการรักษา โดยการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายนี้ยังอยู่ ระหว่างการศึกษาอยู่ต้องการข้อมูลอีกมากมายเพื่อยืนยันว่า ได้ผลในการรักษามะเร็ง

ดังนั้นวิธีหลังนี้จึงเริ่ม เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย แต่มีการนำยาหรือสารเคมีในกลุ่มนี้ มาใช้ร่วมกับยาเคมีบำบัด เพื่อให้การรักษาดีขึ้น มะเร็งแต่ละกลุ่มหรือแต่ละชนิดจะได้รับ การรักษาแบบผสมผสานที่ไม่เหมือนกัน เพราะว่ามะเร็งบางชนิดมีการตอบสนองต่อการ รักษาทางศัลยกรรมและรังสีรักษาดี เช่น มะเร็งผิวหนัง ก็ไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยเคมีบำบัด หรืออื่น ๆ มะเร็งบางชนิดมีการตอบสนองต่อเคมีบำบัด และรังสีรักษาดีไม่จำเป็นต้องใช้ วิธีศัลยกรรม เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น มะเร็งเต้านม ในผู้ป่วย บางกลุ่มโดยเฉพาะ ผู้ป่วยที่อยู่ในวัยหลังหมดระดูจะมีการตอบสนองต่อการรักษา โดยการใช้ ฮอร์โมนหลังจากที่ผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งต้นตอออกไปแล้ว

ดังนั้น จะเห็นว่าการรักษามะเร็งแต่ละชนิด หรือการรักษามะเร็งแต่ละกลุ่ม มีความแตกต่างกันแม้แต่การผสมผสานวิธีการรักษามะเร็ง แต่ละวิธีก็ไม่เหมือนกัน



มะเร็งที่รักษาให้หาย ได้

ปัจจุบันนี้ แพทย์สามารถรักษามะเร็งหลายชนิดให้หายได้ หรืออย่างน้อยก็ ทำให้ ผู้ป่วยมะเร็งมีชีวิตการอยู่รอดที่ยาวนานเท่ากับบุคคลปกติที่อยู่ในวัยเดียวกัน ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง ระยะของมะเร็งที่พบ เพราะมะเร็งระยะ เริ่มแรกย่อมมีการตอบสนอง ต่อการรักษาหรือมีโอกาสหายมากกว่าระยะลุกลาม หรือระยะสุดท้าย


มะเร็งต่าง ๆ ที่สามารถรักษาให้หายได้ในปัจจุบันนี้ ที่สำคัญ มีดังนี้ 

มะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันชนิดลิมป์โฟ ไซติค ลิวคีเมีย
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอร์ดกิ้น
มะเร็งไตในเด็กชนิด วิมส์ ทูเมอร์
มะเร็งลูกอัณฑะ
มะเร็งกระดูก ชนิด อ๊อสติโอเจนนิค ซาร์โคม่า
มะเร็งรังไข่ชนิดเนื้อเยื่อบุผิว
มะเร็งผิวหนังบางชนิดเช่น Basal cell carcinoma
มะเร็งเต้านม
มะเร็งปอดชนิด Small cell
มะเร็งหลังโพรงจมูก
มะเร็งชนิดเนื้อเยื่อ Germ cell

การตรวจค้นหา มะเร็งระยะเริ่มแรก
เป็นการตรวจสุขภาพทั่วไปในผู้ที่มีอาการปกติ เพื่อค้นหาความผิดปกติของร่างกาย ซึ่ง อาจเกิดขึ้นได้อย่างไม่รู้ตัว โดยเฉพาะโรคมะเร็ง ทั้งนี้เพื่อหวังผลในการรักษา เนื่อง จากโรคมะเร็งสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากพบในระยะเริ่มแรก หรือยิ่งพบโรคได้ เร็วเพียงใด ชีวิตก็ปลอดภัยมากขึ้นเพียงนั้น
การตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก มีหลักการดังนี้ 
1. การสอบถามประวัติโดยละเอียด
2. การตรวจร่างกายโดยละเอียด
3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ


1. การสอบถามประวัติโดยละเอียด

มีความสำคัญเนื่องจาก อาจเป็นแนวทางเบื้องต้นที่ช่วยในการวินิจฉัยได้ เช่น
1.1 ประวัติครอบครัว
มะเร็งส่วนใหญ่ไม่ใช่โรคที่สืบเนื่องโดยตรงเกี่ยวกับ พันธุกรรม แต่มีมะเร็งบางอวัยวะมี ความโน้มเอียงที่จะเกิดในพี่น้องครอบครัวเดียวกัน เช่น มะเร็งตาบางชนิด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น


1.2 ประวัติสิ่งแวดล้อม
มีข้อสังเกตว่าสิ่งแวดล้อมบางอย่างเป็นเหตุส่งเสริม ให้เกิดโรคมะเร็งบางชนิดได้ เช่น ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสารกัมมันตภาพรังสีเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจเป็นโรคมะเร็ง เม็ดเลือดขาวมากกว่าผู้ที่ประกอบอาชีพอื่น 

1.3ประวัติส่วนตัว
อุปนิสัยและพฤติกรรมส่วนตัวของแต่ละบุคคลก็อาจเป็น เหตุสนับสนุนให้เกิดโรคมะเร็ง บางอย่าง เช่น
- ผู้ที่สูบบุรี่มาก ๆ เป็นระยะเวลานาน ๆ จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอด มากกว่า ผู้ที่ไม่สูบ บุหรี่
- ผู้ที่มีประวัติการร่วมเพศตั้งแต่อายุน้อย มีประวัติสำส่อนทางเพศ ,     มีบุตรมากจะเป็น มะเร็งปากมดลูกได้มากกว่าผู้ที่ไม่เคยแต่งงาน
- ท้องอืด เบื่ออาหาร ผอมลงมาก
- เสียงแหบอยู่เรื่อย ๆ ไอเรื้อรัง
- หูด หรือปานที่โตขึ้นผิดปกติ
- การเปลี่ยนแปลงในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะผิดไปจากปกติ 

1.4 ประวัติเกี่ยวกับอาการเจ็บไข้ต่าง ๆ 
เป็นตุ่ม ก้อน แผล ที่เต้านม ผิวหนัง ริมฝีปาก กระพุ้งแก้มหรือที่ลิ้น
ตกขาวมาก หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ
เป็นแผลเรื้อรังไม่รู้จักหาย 

 2. การตรวจร่างกายโดยละเอียด
ช่วยในการวินิจฉัยโรคได้ แต่ในทางปฏิบัติ แพทย์ไม่สามารถจะตรวจร่างกายได้ ทุกอวัยวะ ทุกระบบโดยครบถ้วน จึงมีหลักเกณฑ์ว่า ในการตรวจร่างกายทั่วไปเพื่อตรวจ หามะเร็งระยะเริ่มแรกนั้น ควรตรวจอวัยวะต่างๆ เท่าที่สามารถจะตรวจได้ ดังนี้
- ผิวหนัง และเนื้อเยื่อบางส่วน
- ศีรษะ และคอ
- ทรวงอก และเต้านม
- ท้อง
- อวัยวะเพศ
- ทวารหนัก และลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง
3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจอื่น ๆ 


 3.1 การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ช่วยในการตรวจค้นหา การวินิจฉัย การรักษา รวมทั้งการติดตามผลการรักษา โรคมะเร็งด้วย ได้แก่
- การตรวจเม็ดเลือด
- การตรวจปัสสาวะ , อุจจาระ
- การตรวจเลือดทางชีวเคมี 
3.2 การตรวจเอ๊กซเรย์
มีประโยชน์ในการวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งบางชนิด ซี่งมีวิธีการหลายอย่างเช่น
- การเอ๊กซเรย์ปอด
เป็นวิธีการพื้นฐานอย่างหนึ่ง ในการตรวจสุขภาพ
การเอ๊กซเรย์ทางเดินอาหาร
ทำในรายที่มีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหาร
 การตรวจเอ๊กซเรย์เต้านม
เป็นการตรวจลักษณะความผิดปกติที่เต้านม
3.3 การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ 

หลักสำคัญในการตรวจคือ ให้ผู้ป่วยกลืน , ฉีดสารกัมมันตภาพรังสีบางชนิด สารดังกล่าว จะไปรวมที่อวัยวะบางส่วน แล้วถ่ายภาพตรวจการกระจายของสารกัมมันตภาพรังสีนั้น ๆ เช่น การตรวจเนื้องอกของต่อมไทรอยด์ ,สมอง , ตับ , กระดูก เป็นต้น
3.4 การตรวจโดยใช้เครื่องมือพิเศษ
เพื่อดูลักษณะเยื่อบุภายในของอวัยวะบางอย่าง เช่นหลอดลม หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ เป็นต้น
3.5 การตรวจทางเซลล์วิทยา และพยาธิวิทยา 
การตรวจทางเซลล์วิทยา เป็นวิธีการตรวจหา มะเร็งระยะเริ่มแรกของอวัยวะต่าง ๆ เช่น
- การขูดเซลล์จากเยื่อบุอวัยวะบางอย่างให้หลุดออกมา เช่น ปากมดลูก , เยื่อบุช่องปาก เป็นต้น
- เก็บเซลล์จากแหล่งที่มีเซลล์หลุดมาขังอยู่ เช่น ในช่องคลอด ในเสมหะ
3.6 การตรวจเนื้อเยื่อทางพยาธิวิทยา
เป็นการตรวจที่สำคัญที่สุดในการวินิจฉัยโรคมะเร็ง โดยการตัด เนื้อเยื่อจากบริเวณที่ ่สงสัย ส่งตรวจละเอียดโดยกล้องจุลทรรศน์ อนึ่ง โรคมะเร็งอาจเกิดกับอวัยวะต่างๆ กัน มะเร็งบางอวัยวะอาจตรวจวินิจฉัยได้ง่าย บางอวัยวะตรวจได้ยาก แต่มีข้อสังเกตว่า มะเร็งที่พบได้บ่อย ๆ ในประเทศของเรา เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งช่องปาก เป็นโรคที่ตรวจวินิจฉัยได้ไม่ยาก ถ้าสนใจตรวจสุขภาพเป็นประจำ

ประโยชน์ของการตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก
การตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรกนั้นมีประโยชน์ เพราะมะเร็งระยะเริ่มต้น การรักษา ได้ผลดีมาก และเป็นการป้องกัน มิให้ผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งระยะลุกลาม ซึ่งจะเป็น อันตรายแก่ชีวิตได้

การตรวจ เต้านมด้วยตนเอง


โดยทั่วไปแล้ว สตรีมักจะพบสิ่งผิดปกติของเต้านมได้ด้วยตนเองก่อนที่จะไปพบแพทย์ โดยเฉพาะการพบก้อน ตุ่มหรือไตแข็งผิดปกติที่เต้านม ดังนั้น โปรดอย่างนิ่งนอนใจควร รีบปรึกษาแพทย์ เพราะหากเป็นเนื้อร้ายหรือ มะเร็งเต้านม จะได้รับการรักษาทันท่วงที พึงจำไว้ว่ายิ่งพบความผิดปกติได้เร็วเพียงไร โอกาสในการักษาให้หายขาดและปลอดภัย ก็มีมากขึ้นเพียงนั้นวิธีที่จะช่วยให้สตรีได้พบสิ่งผิดปกติของเต้านมตั้งแต่ระยะ เริ่มแรก คือ การตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละครั้ง ในระยะหลังจากหมดประจำเดือนประมาณ 7 วัน ไม่ควรตรวจในช่วงที่เต้านมคัดตึง เพราะการตรวจอาจผิดพลาดได้

การตรวจ เต้านมด้วยตนเอง ทำดังนี้  


ขั้นที่ 1 ตรวจในขณะอาบน้ำ  


ขณะ อาบน้ำเป็นระยะเวลาที่ผิวหนังเปียกและ ลื่นจะทำ ให้การตรวจง่ายขึ้น การตรวจทำโดยใช้ปลายนี้วมือวาง ราบบนเต้านม คลำและเคลื่อนนิ้วมือ ในลักษณะคลึง เบาๆ ให้ทั่วทุกส่วนของเต้านม เพื่อค้นหาก้อนหรือ เนื้อที่แข็งเป็นไตผิดปกติ หลังอาบน้ำแล้วจึงทำการ ตรวจเต้านมขั้นต่อไป


ขั้นที่ การตรวจหน้ากระจก




ก. ยืนตรงมือแนบลำตัว แล้วยกแขนขึ้นสูงเหนือศีรษะ สังเกตลักษณะของเต้านมเพราะการเคลื่อนยกแขนขึ้นนั้น จะสามารถมองเห็นความผิดปกติได้
ข. ยกมือท้าวเอว เอามือกดสะโพกแรง ๆ เพื่อให้เกิด การเกร็งและหดตัวของกล้ามเนื้ออก สังเกตดูลักษณะ ที่ผิดปกติ

ขั้นที่ 3 การตรวจในท่านอน



              ภาพที่1                        ภาพที่2                              ภาพที่3


นอนราบและยกมือข้าง หนึ่งไว้ใต้ศีรษะ แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่ง ตรวจคลำให้ทั่วทุกส่วน ของเต้านม (ภาพที่ 1, 2 และ 3 )โดยเริ่มต้นที่จุดบริเวณส่วนนอกเหนือสุดของเต้านม (จุด X ในภาพ) เวียนไปโดยรอบเต้านม แล้วเคลื่อนมือเขยิบเข้ามาเป็นวงแคบเข้าจนถึง บริเวณหัวนม จากนั้น ค่อย ๆ บีบหัวนมโดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ เพื่อสังเกตดูว่ามี น้ำเลือดน้ำหนอง หรือน้ำใส ๆ อื่นใดออกมาหรือไม่เสร็จแล้ว ตรวจเต้านมอีกข้างหนึ่ง ในลักษณะเดียวกัน



ศัลยกรรม ในผู้ป่วยมะเร็ง

โดยทั่วไปแล้ว คำว่า"ศัลยกรรม"หมาย ถึง การรักษาโรคโดยวิธีผ่าตัด ดังนั้น ศํลยกรรมในผู้ ป่วยมะเร็ง จึงหมายถึง การรักษาโรคมะเร็งด้วยการผ่าตัด การผ่าตัดที่ ใช้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งนั้นมีหลายลักษณะ แบ่งออกตามวัตถุประสงค์ของการ ผ่าตัดได้ ดังนี้

1. การผ่าตัดเพื่อการวินิจฉัย (Biopsy) เป็น กาตัดหรือขลิบ ชิ้นเนื้อจากก้อน เนื้องอก หรืออวัยวะที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็ง ส่งตรวจทางพยาธิ วิทยา เพื่อการพิสูจน์และ วินิจฉัยโรค วิธีนี้จะสามารถยืนยันได้ ว่าเนื้องอก หรืออวัยวะนั้น ๆ เป็นเนื้องอก ธรรมดา หรือ มะเร็ง การ ตัดชิ้นเนื้อ เพื่อพิสูจน์ ดังกล่าว แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ

ก. ตัดชิ้นเนื้อ เพียงบางส่วน (Incisional Biopsy) วิธีนี้เลือกใช้ ในกรณีที่เนื้อ งอก มีขนาดใหญ่มากหรือเป็นกลุ่มก้อน ทั้งนี้เพื่อนำผล พิสูจน์นั้นเป็น แนวทางในการวาง แผนการรักษาต่อไป

ข. ตัดเนื้องอกออก ทั้งก้อน (Excisional Biopsy) ใช้ใน กรณีที่ก้อนเนื้อ ดังกล่าว มีขนาดไม่ใหญ่มากสามารถตัดออกได้ทั้งก้อนและไม่เป็นอันตรายต่ออวัยวะข้างเคียง


2. การผ่าตัดเพื่อการรักษา ใช้ใน กรณีที่ผู้ป่วย เป็นมะเร็งระยะ เริ่มแรก หรือ กรณีที่เนื้องอกมีขนาดใหญ่ โดยหวังผลในการ รักษาคือ ให้ผู้ป่วยหายขาดเมื่อได้รับ การผ่าตัด


3. การผ่าตัดแบบการรักษาแบบประคับประคอง วิธีนี้ใช้ในกรณี ที่ที่โรคลุกลาม มาก หรือกรณีที่ต้องการลดขนาดของก้อนมะเร็ง เพื่อการรักษาแบบ ผสมผสาน กับวิธีอื่น ต่อไป เช่น การฉายรังสี หรือ การให้ยาเคมี บำบัด เป็นต้น สำหรับวิธีนี้สามารถเพิ่ม คุณภาพชีวิตให้ กับผู้ป่วยโรค มะเร็งได้ คือ ลดความทุกข์ทรมานอันเกิดจากความ เจ็บปวด หรือแผลเน่าเหม็นได้














มะเร็งที่ พบบ่อยในคนไทย


เพศหญิง
เพศ ชาย
1.
มะเร็ง ปากมดลูก
1.
มะเร็ง ตับ
2.
มะเร็งเต้านม
2.
มะเร็งปอด


ข้อ พึงปฏิบัติ 12 ประการเพื่อการป้องกันและลดการเสี่ยง ต่อการเกิดโรคมะเร็ง

5 ประการเพื่อการป้องกัน

1. รับประทานผักตระกูลกะหล่ำให้มาก เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักคะน้า หัวผักกาด บรอคโคลี่ ฯลฯ
เพื่อป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ลำไส้ส่วนปลาย กระเพาะอาหาร และอวัยวะระบบทางเดินหายใจ
2.รับ ประทานอาหารที่มีกากมากเช่น ผัก ผลไม้ ข้าว ข้าวโพด และเมล็ดธัญพืชอื่นๆ
เพื่อป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่
3.รับ ประทานอาหารที่มีเบต้า- แคโรทีน และ ไวตามินเอ สูงเช่น ผัก ผลไม้ สีเขียว-เหลือง
เพื่อป้องกันมะเร็งหลอด อาหาร กล่องเสียง และปอด
4. รับประทานอาหารที่มีไวตามินซีสูง เช่น ผัก ผลไม้ต่าง ๆ
เพื่อป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร และ กระเพาะอาหาร
5. ควบคุมน้ำหนักตัว
โรคอ้วนมีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งมดลูก ถุงน้ำดี เต้านม และลำไส้ใหญ่ การออก กำลังกายและการลดรับประทานอาหารที่ให้ พลังงานสูง จะช่วยป้องกันมะเร็ง เหล่านี้ได้

สาเหตุและ ปัจจัยเสี่ยง

สาเหตุและปัจจัย เสี่ยงของการเกิดมะเร็ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทที่สำคัญ คือ
เกิดจากสิ่งแวดล้อมหรือ ภายนอกร่างกาย ซึ่งปัจจุบันนี้เชื่อกันว่ามะเร็ง ส่วนใหญ่ เกิดจากสาเหตุได้แก่

1.1 สารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนในอาหารและเครื่องดื่ม เช่น สารพิษจาก เชื้อราที่มีชื่อ อัลฟาทอกซิน (Alfatoxin) สารก่อมะเร็งที่เกิดจากการปิ้ง ย่าง พวกไฮโดคาร์บอน (Hydrocarbon) สารเคมีที่ใช้ในขบวนการถนอมอาหาร ชื่อไนโตรซามิน (Nitosamine) สีผสมอาหารที่มาจากสีย้อมผ้า
1.2 รังสีเอ็กซเรย์ อุลตราไวโอเลตจากแสงแดด
1.3 เชื้อไวรัส ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสฮิวแมนแพบพิลโลมา
1.4 การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ
1.5 จากพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การสูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นต้น
2. เกิดจากความผิดปกติภายในร่างกาย ซึ่งมีเป็นส่วนน้อย เช่น เด็กที่มีความพิการ มาแต่ กำเนิดมีโอกาสเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น การมีภูมิคุ้มกันที่บกพร่องและภาวะ ทุพโภชนาการ เช่น การขาดไวตามินบางชนิด เช่น ไวตามินเอ ซี เป็นต้น จะเห็นว่า มะเร็งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อม ดังนั้น มะเร็งก็น่าจะเป็นโรคที่สามารถ ป้องกัน ได้เช่นเดียวกับโรคติดเชื้ออื่นๆ (Hill R.P,Tannock IF,1987) ถ้าประชาชนมี ความรู้เกี่ยวกับสารก่อมะเร็ง และสารช่วยหรือให้เกิด มะเร็งที่มีอยู่ในสิ่งแวด ล้อมแล้ว พยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเหล่านั้น เช่น งดสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงจากบริเวณ ที่มีควันบุหรี่ เป็นต้น สำหรับสาเหตุภายในร่างกายนั้นการป้องกันคงไม่ได้ผลแต่ทำให้ ทราบว่า ตนเองจัดอยู่ในกลุ่มที่มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็น มะเร็งสูงหรือมากกว่ากลุ่ม อื่น ๆ ดังนั้นก็ควรไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับความรู้เรื่องมะเร็งต่อไป กรณีที่เป็น มะเร็ง ได้ตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก ซึ่งจะมีการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดี

ปัจจัย เสี่ยงต่อการเป็นโรค มะเร็ง ที่ สำคัญ มี 2 ข้อ
ข้อ แรก คือ ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย เช่น สารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อน ในอาหาร อากาศ เครื่องดื่ม ยารักษาโรค เป็นต้น รวมทั้งการได้รับรังสี เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และพยาธิบางชนิด
ข้อที่สอง คือ ได้แก่ปัจจัยภายในร่างกาย เช่น ความผิดปกติทางพันธุกรรม ความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน และภาวะทุพโภชนา เป็นต้น

ผู้ ที่มีความเสี่ยงต่อการ เป็นโรคมะเร็ง มีดังนี้
1. ผู้ที่สูบบุหรี่ จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งของระบบหายใจ ได้แก่ ปอด และกล่องเสียง เป็นต้น
2. ผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง ตับ ถ้าทั้งดื่มสุราและสูบบุหรี่จัด จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง ช่องปากและในลำคอด้วย
3. ผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อ ไวรัสตับอักเสบชนิดบี หรือผู้ที่ชอบรับประทานอาหารที่มี สารพิษ ชื่อ อัลฟาทอกซิล ที่พบจากเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหารเช่น ถั่วลิสงป่น เป็นต้น หากรับประทานประจำจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ และหากได้รับทั้ง 2 อย่าง โอกาส จะเป็นมะเร็งตับมากขึ้น
4. ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง เต้านม ลำไส้ใหญ่ เยื่อบุมดลูก และต่อมลูกหมาก
5. ผู้ที่ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ และรับประทานอาหารที่ใส่ดิน ประสิวเป็นประจำ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งท่อน้ำดีในตับ
6. ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอันเกิดจากความผิดปกติจากพันธุกรรมหรือติดเชื้อไวรัส เอดส์ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งปากมดลูก มะเร็งของหลอดเลือด เป็นต้น
7. ผู้ที่รับประทานอาหารเค็ม จัด อาหารที่มีส่วนผสมดินประสิวและส่วนไหม้เกรียม ของอาหารเป็นประจำจะเสี่ยง ต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะ อาหารและลำไส้ใหญ่
8. ผู้ที่มีประวัติโรคมะเร็งในครอบครัว อาทิ มะเร็งของจอตา มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ และมะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิดที่ เป็นติ่งเนื้อ เป็นต้น
9. ผู้ที่ตากแดดจัดเป็นประจำจะ ได้รับอันตรายจากแสงแดดที่ มีปริมาณของแสงอุลตรา ไวโอเลต จำนวนมาก มีผลทำให้เป็นมะเร็งผิวหนังได้

โภชนาการกับโรคมะเร็ง

จากการศึกษาพบ ว่า อาหารอาจมีส่วนสัมพันธ์ กับการเกิดโรคมะเร็งได้ประมาณ 30-50% แต่ในขณะเดียวกันอาหารประเภทพืชผัก ผลไม้ ธัญพืช และ เครื่องเทศต่างๆ ก็มี คุณสมบัติในการป้องกันมะเร็งได้ ดังนั้น การรับประทานอาหารอย่างถูกต้องตามหลัก โภชนาการ จึงเป็นหนทางหนึ่ง ซึ่งสามารถป้องกันโรคมะเร็งได้

อาหารที่มีความ เสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็ง


1.อาหารที่มีรา ขึ้นโดยเฉพาะราสีเขียว-สี เหลือง

2.อาหารไขมันสูง

3.อาหารเค็มจัด ส่วนไหม้เกรียมของอาหารปิ้ง ย่าง รมควัน และอาหารที่ถนอมด้วยเกลือ ดินประสิว



link : กลุ่มงานโภชนวิทยา


ยาเคมี บำบัด



เป็นยาหรือสารเคมีที่ใข้ในการรักษามะเร็ง อาจให้การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด อย่างเดียว หรือให้ร่วมกับการรักษาวิธีอื่น ยาเคมีบำบัดเมื่อให้เข้าสู่ร่างกายจะไปทำลายเซลมะเร็ง เเละทำลายเซลปกติบางส่วน ด้วยทำให้เกิดอาการข้างเคียงขึ้น
ยาเคมีบำบัดจะเข้าไปขัดขวางขบวน การเจริญเติบโตของวงจรชีวิต เซลล์ทำให้ เซลล์ตาย ยาแต่ละตัวออกฤทธิ์แตกต่างกันในการรักษา บางแผนการรักษาประกอบด้วยยาหลาย ชนิด ที่ให้ร่วมกัน 
















อาการ ข้างเคียง ยาเคมีบำบัดมีผลกระทบต่อเซลล์ปกติด้วย โดยเฉพาะเซลล์ที่มีการเจริญ และแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เช่น เซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร, เส้นผม, เม็ดเลือด ดังนั้น จึงเป็นสาเหตุของอาการข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์ระยะหนึ่งในระหว่างการ ให้ยาแต่ละชุด เพื่อให้ร่างกายได้มีเวลาสร้างเซลล์ปกติขึ้นมาทดแทน 

อาการ ไม่พึงประสงค์ ที่ต้องปรึกษา แพทย์
1. มีเลือดออกหรือเป็นแผลในปากมาก
2. มีผื่นหรืออาการแพ้
3. มีไข้ หนาวสั่น
4. ปวดมากบริเวณที่ฉีด
5. หายใจลำบาก
6. ท้องเดินหรือท้องผูกอย่างรุนแรง
7. ปัสสาวะหรืออุจจาระมีเลือดปน
อาการ ไม่พึงประสงค์ ที่พบบ่อย
1. คลื่นไส้อาเจียน
2. ผมร่วง
3. แผลในปาก
4. ปริมาณเม็ดเลือดลดลง

อย่างไรก็ตาม อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นจะหายไปเมื่อสิ้นสุดการให้ยาเคมีบำบัด ซึ่ง

อาการไม่พึงประสงค์จะขึ้นกับชนิดของยาเคมีบำบัดที่ได้รับ และปฏิกิริยาตอบสนองต่อยา ของร่างกายผู้ได้รับยาเคมีบำบัดนั้น ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาการไม่ พึงประสงค์ ที่จะเกิด ขึ้นจากการได้รับยา เพื่อบรรเทาอาการให้น้อยลงหรืออาจพิจารณาปรับแผนการรักษา ถ้าเกิด มีอาการรุนแรง อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดไม่ได้หมายความว่า อาการของโรคมะเร็งเป็นมาก ขึ้น และความรุนแรงของอาการไม่พึงประสงค์ก็ไม่มีความสัมพันธ์กับผลของยาเคมีบำบัดต่อ เซลล์มะเร็ง


ความปวด กับผู้ป่วยโรคมะเร็ง

ความปวดเป็นความรู้สึกที่มีอิทธิพลอย่างมากในการทำลายความสุข รวมทั้งรบกวน การประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องกระทำเป็นกิจวัตร โดยความปวดอาจเกิดขึ้นเป็น ครั้งคราวหรือต่อเนื่องตลอดเวลา ความปวดเกิดร่วมกับผู้ป่วยไข้ด้วยโรคมะเร็ง ได้ทุกระยะ โดยเฉพาะเมื่อโรคมะเร็งอยู่ในระยะแพร่กระจาย แต่ก็มีผู้ป่วยโรคมะเร็ง จำนวนไม่น้อยที่ พบว่าไม่เคยมีความปวดเกิดขึ้น โรคมะเร็งไม่ใช่สาเหตุที่ก่อให้เกิด ความปวดเท่านั้น

ในนผู้ ป่วยโรคมะเร็งความปวดอาจเกิดจากผล ข้างเคียงของการบำบัด โรคมะเร็ง หรือเป็นความปวดชนิดธรรมดาที่เกิดขึ้นกับบุคคลธรรมดาทั่วไป ความ ปวดจากโรคมะเร็งจะรุนแรงหรือไม่ขึ้นกับขนิดของโรคมะเร็ง อวัยวะที่เกิดโรค รวมทั้งสภาพ ร่างกาย และจิตใจของผู้ป่วยโดยเฉพาะเมื่อร่างกายอ่อนล้า มีความกลัว ซึม เศร้า หรือวิตกกังวลเกิดขึ้น จะมีส่วนทำให้ความปวดที่เป็นอยู่มีความรุนแรงมากขึ้น

ผู้ป่วย ที่มีความปวดเท่านั้นที่จะรู้สึก ถึงลักษณะและระดับความรุนแรงของ ความปวดที่เกิด ขึ้น กิจกรรมต่าง ๆ ที่ถูกกระทบจนไม่อาจกระทำได้ รวมทั้งสภาพทางด้านจิตใจที่ทรุดลง อันเป็นผลจากความปวด ดังนั้น เมื่อเกิดความปวดขึ้นต้องไม่ตื่นตระหนก แต่อย่ารีรอ และไม่ต้องเกรงใจให้แจ้งแพทย์ พยาบาลหรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้การดูแล รับรู้ถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับความปวดอย่างละเอียดลออทันทีที่มีโอกาส ซึ่งจะเป็นวิธีที่ ี่ช่วยทำให้การบำบัดความปวดที่เกิดขึ้นได้ผลมากที่สุด อย่าเบื่อหรือรำคาญกับคำถามมาก มาย คำถามบางข้ออาจซ้ำซาก หรือดูเหมือนไร้สาระ หากยังไม่พร้อมให้แจ้งแพทย์ หรือพยาบาล ผู้ซักถาม โปรดระลึกไว้เสมอว่าข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากผู้ป่วยที่ปวดมีความ ละเอียดมากเท่าใด จะเป็นแนวทางชี้นำในการเลือกวิธีบำบัดได้ดีที่สุด คำถามที่จะถูก ไต่ถามจากบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้การบำบัดเสมอ จะประกอบด้วย

* รู้สึกปวดตั้งแต่เมื่อไร?

* ปวดตรงบริเวณไหนบ้าง?

* ลักษณะปวดเป็นเช่นไร?(ปวดอื้อ แปล๊บ ปวดแสบปวดร้อนเหมือนเข็มแทง ฯลฯ)

* ระดับความรุนแรง(โดยใช้มาตราวัด อาจเป็นตัวเลข 0-5 ซึ่งผู้ทำการบำบัด จะอธิบายถึงวิธีใช้อย่างละเอียด)

* ช่วงเวลาความถี่ของการเกิดความปวด

* ปัจจัยที่ทำให้ความปวดลดลงหรือเพิ่มขึ้น

* วิธีบำบัดที่เคยได้รับมาก่อน รวมถึงผลลัพธ์ที่เกิด ขึ้น

* ชนิด ขนาดและวิธีการใช้ยาแก้ปวดที่ผ่านมา รวมทั้งผลลัพธ์

การบำบัดความปวดจากโรคมะเร็งมีหลากหลายวิธี โดยทั่วไปยาแก้ปวดหนึ่งชนิด หรือมากกว่าจะถูกนำมาใช้บำบัดหรือร่วมกับวิธีการบำบัดอื่น ยาแก้ปวดในรูปแบบ รับประทาน ปิดบนผิวหนัง อมใต้ลิ้น หรือเหน็บทางทวารหนักมีคุณค่าในการแก้ปวด ได้เท่ากับยาฉีดในทุกรูปแบบ ควรใช้ยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดตลอดเวลา แม้ความปวด จะไม่เกิดขึ้นอีก หากความปวดที่เคยเป็นอยู่เป็นชนิดที่เกิดขึ้นอย่าง ต่อเนื่องตลอดเวลา ไม่ควรใช้ยาโดยพลการ หรือจัดหายาแก้ปวดมาใช้เพิ่มขึ้น โดยคำแนะนำจากผู้อื่น ที่ไม่ใช่แพทย์ผู้ให้การบำบัด

ยาแก้ปวด ทุกชนิดอาจก่อให้ เกิดอาการข้างเคียงได้ อาทิเช่น ปวดศีรษะ คอแห้ง งุนงง ง่วงซึม สับสน ท้องผูก คลื่นไส้ หากมีอาการผิดปกติให้รีบแจ้ง ผู้ให้การรักษาบันทึกทุกสิ่ง เกี่ยวกับความปวดที่เป็นอยู่ หลังจาก เริ่มได้รับการบำบัด สำหรับไว้แจ้งแก่ผู้ให้การบำบัด โดยเฉพาะเมื่อ มีความปวด เกิดขึ้นบริเวณใหม่ของร่างกาย หรือความปวดเกิดขึ้นตลอดเวลา ที่ต้องรับประทานยา แก้ปวดขนานต่อไป

รวมทั้ง อาการที่ผิดปกติ ยาแก้ปวดหลายชนิด โดยเฉพาะที่ใช้บำบัด ชนิดความปวดชนิด รุนแรง ร่างกายอาจเกิดภาวะชินต่อยาชนิดนั้นได้ ถ้าต้องรับยา อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา ยาวนานและเมื่อหยุดยาทันทีอาจก่อให้เกิดอาการ ขาดยาขึ้น ซึ่งอาการเช่นนั้นไม่ใช่ สภาพของการติดยา ถึงแม้คุณสมบัติทางเภสัชวิทยาของยาที่ใช้ อาจมีฤทธิ์ทางด้านเสพติด การใช้อย่างถูกวิธีโดยปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด ก็จะไม่ทำให้เกิดภาวะติดยาขึ้น และไม่ควรกลัวว่าการใช้ยาแก้ปวดตั้งแต่ ความปวด ยังไม่รุนแรง จะทำให้เสียชีวิตเร็วขึ้น หรือเกิดภาวะดื้อยา ไม่มียาแก้ปวดใช้เมื่อความ ปวดรุนแรงขึ้นหรือยาแก้ปวดควรใช้ต่อเมื่อเข้าสู่วาระสุดท้ายเท่านั้นอย่าตื่นตระหนก

ถ้า ป่วยด้วยโรคมะเร็ง และ มีความปวดเกิดขึ้น รีบแจ้งแพทย์ที่ทำการรักษา ปัจจุบันพบว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่มีความปวด มากกว่าร้อยละ 80 ความปวดที่เกิดขึ้นสามารถควบคุม ได้หมด หรืออยู่ในระดับที่ผู้ป่วยพอใจ โดยการให้ยาแก้ปวดชนิดรับประทาน อมใต้ลิ้น ปิดบนผิวหนัง หรือเหน็บทางทวารหนักเท่านั้น


โปรแกรมสถิติ




       ผู้ป่วยมะเร็งเฮ! รพ.จุฬาภรณ์ นำเข้าเครื่อง Thermotron-RF8 ราคากว่า 50 ล้านบาท ใช้ความร้อน 43 องศา ทำลายเซลล์มะเร็งได้ทุกตำแหน่ง ทุกระยะโรค ร่วมกับการรักษาแนวทางอื่น ระบุให้ผลดียิ่งขึ้น ช่วยผู้ป่วยเข้าถึงบริการ เตรียมให้การรักษาสิ้น เม.ย.

คำอธิบาย: http://www.manager.co.th/images/blank.gif
       วันนี้ (20 มี.ค.) ที่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ศ.นพ.พิทยภูมิ ภัทรนุธาพร ผอ.รพ.จุฬาภรณ์ ให้สัมภาษณ์ถึงเครื่องเทอโมตรอน-อาร์เอฟแปด (Thermotron-RF8) ซึ่งเป็นเครื่องมือรักษามะเร็งทางเลือกใหม่ ว่า เครื่องดังกล่าวเป็นการรักษามะเร็งด้วยความร้อน เรียกว่า ไฮเปอร์เธอร์เมีย” (Hyperthermia) นับเป็นอีกทางเลือกในการใช้ร่วมกับการรักษาในปัจจุบัน ซึ่งมีทั้งการผ่าตัด การฉายรังสี และการใช้ยาเคมีบำบัด โดยเครื่อง Thermotron-RF8 นั้นนำเข้าจากญี่ปุ่น ซึ่งมีการใช้มานานกว่า 20 ปี ราคาประมาณ 50 ล้านบาท มีศักยภาพใช้งานได้เป็น 10 ปี ทั้งนี้ โรงพยาบาลได้นำมาติดตั้งเป็นครั้งแรกของไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้การรักษา รวมทั้งวิจัยศึกษา เป็นการพัฒนาการรักษาเพื่อก้าวสู่ศูนย์รักษามะเร็งครบวงจร (Comprehensive Cancer Center) และทำให้คนไทยมีโอกาสเข้าถึงการรักษามากขึ้น ตามพระราชดำรัสของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี องค์ประธาน รพ.จุฬาภรณ์ ว่าให้ทำทุกอย่างเพื่อช่วยผู้ป่วยคนไทยได้รับโอกาสการรักษาทัดเทียมต่างประเทศ
     
      
 ศ.นพ.พิทยภูมิ กล่าวว่า หลักการทำงานของเครื่องคือ การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ให้พลังงานความร้อนที่อุณหภูมิ 43 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ทำลายเซลล์มะเร็งได้ เนื่องจากเซลล์มะเร็งเป็นเนื้อร้าย ไม่มีความยืดหยุ่นทำให้เก็บกักความร้อนจนทำลายตัวเอง ขณะที่เนื้อเยื่อปกติมีความยืดหยุ่นจะถ่ายเทความร้อนออกสู่ร่างกายเอง โดยไม่ส่งผลใดๆ ทั้งนี้ สามารถทำลายได้ทั้งเซลล์มะเร็งที่อยู่ไม่ลึกจากผิวหนัง และลึกลงไปภายในร่างกาย ใช้ทำการรักษาได้ในเกือบทุกตำแหน่งอวัยวะ แต่เป็นแบบเจาะจงได้ตรงตำแหน่งก้อนเนื้องอก ทำให้มีขนาดก้อนที่เล็กลงหรือหยุดการเจริญเติบโต และรักษาได้ทุกระยะ เป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยมะเร็งทุกชนิด

คำอธิบาย: http://www.manager.co.th/images/blank.gif
       “การทำงานจะได้ผลดีเมื่อใช้ร่วมกับการรักษาแนวอื่น ทั้งการฉายรังสี และการให้เคมีบำบัด ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ ซึ่งข้อดีคือช่วยให้ผู้ป่วยไม่ทรมาน ลดผลข้างเคียงจากการรักษาแนวอื่น เช่น ลดการฉายรังสีเหลือ 50-60% แต่ผลการรักษาเท่ากัน อาการข้างเคียงไม่มี ซึ่งเดิมทีหากฉายรังสี 100% ผู้ป่วยอาจรับไม่ไหว หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องตับอ่อนจะรักษายากมาก เพราะผ่าตัดหรือฉายรังสีไม่ได้ ต้องใช้เคมีบำบัด ซึ่งอาจได้ผล 30-40% แต่หากใช้วิธีนี้ร่วมด้วย จะทำให้ผลการรักษาเพิ่มขึ้นอีกผอ.รพ.จุฬาภรณ์ กล่าว
      
       ศ.นพ.พิทยภูมิ กล่าวว่า ข้อควรระวังคือผู้ป่วยที่มีการผ่าตัดและบริเวณผิวหนังมีพังผืด เนื่องจากความร้อนจะกระทบต่อผิวหนังมีอาการแดงได้ แต่ที่ควรหลีกเลี่ยงคือกลุ่มที่มีการผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจหรือผ่าตัดใส่โลหะ อาจมีผลต่อการใช้เครื่องนี้ ทั้งนี้ โรงพยาบาลจะเปิดรักษาผู้ป่วยด้วยเครื่องดังกล่าวใน เม.ย.2557 สำหรับสิทธิการเบิกจ่ายได้นั้น ขณะนี้ได้เพียงสิทธิสวัสดิการข้าราชการ แต่ไม่ทั้งหมด ส่วนสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และประกันสังคม ยินดีรับผู้ป่วยเข้ารักษา แต่ต้องให้ต้นสังกัดส่งต่อ